ตัวต้านทาน เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่จะทำให้กระแสที่ไหลผ่านตัวมันลดลง
ถ้าความต้านทานในตัวมันมีมากกระแสก็จะไหลผ่านได้น้อย
ค่าความต้านทานมีหน่วยเป็น โอห์ม(Ω)
โดยส่วยใหญ่มี 2 แบบ คือ
แบบค่าคงที่
ซึ่งที่เราเป็นทั่วไปตัวต้านทานแบบนี้ จะเห็นเป็นตัวหนอนแบบในรูป
และ
แบบปรับค่าได้
ในรูปเป็นตัวต้านทานขนาด 100KΩ
ซึ่งหมายความว่า สามารถปรับความต้านทานได้สูงที่สุด 100KΩ
จริงๆผมจะหามาหลายๆแบบแต่เสียดายหายไปไหนหมดไม่รู้ ^-^
นอกจากตัวต้านทานปรับค่าได้แบบหมุนๆ ที่เรามักเห็นในวิทยุแล้ว
ยังมีแบบอื่นอีกมากมาย เช่น
แบบปรับค่าตามแสง
มันจะมีค่าความต้านทานเมื่อไม่ถูกแสง ได้ถึงล้านโอห์ม แต่ถ้าโดนแสงก็เหลือประมาณ 100 โอห์ม
ในตอนนี้ผมจะยังไม่กล่าวถึงแบบอื่นๆนะครับ นอกจากแบบค่าคงที่ นะครับ
จริงๆ ยังมีตัวต้านทานปรับค่าได้อีกหลายแบบมากมายเอามาให้ดูแค่นี้ก่อนนะครับ
เอาล่ะมาดู
สัญลักษณ์ที่ใช้แทนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ของตัวต้านทานดีกว่า
ตัวต้านทานแบบค่าคงที่
ตัวต้านทานแบบปรับค่าได้
ตอนนี้เราก็รู้จักตัวต้านทานกันแล้ว แต่เรายังไม่รู้เลยว่า
แต่ละตัวมันมีความต้านทานเท่าไร
ถ้าเป็นไอ้ตัวใหญ่หรือแบบปรับค่าได้ มันก็มีเลขบอก
แต่ไอ้ตัวหนอนล่ะ ไม่เห็นจะมีอะไรเลย
เราจึงต้องมาดู ตรงนี้กันนะครับ
การอ่านรหัสสีของตัวต้านทานแบบค่าคงที่(ตัวหนอน)
ตัวหนอนเนี่ยนะครับ มันตัวเล็ก เลยไม่สามารถเขียนเป็นเลขได้ เลยต้องเขียนเป็นรหัสสี
มี 2 แบบ คือ 4 แถบสี และ 5 แถบสี
แบบ 4 แถบสี
แถบที่ 1 - เลขหลักที่ 1
แถบที่ 2 - เลขหลักที่ 2
แถบที่ 3 - ตัวคูณ
แถบที่ 4 - ค่าความผิดพลาด
แบบ 4 แถบสี
แถบที่ 1 - เลขหลักที่ 1
แถบที่ 2 - เลขหลักที่ 2
แถบที่ 2 - เลขหลักที่ 3
แถบที่ 4 - ตัวคูณ
แถบที่ 5 - ค่าความผิดพลาด
การอ่านค่าตัวเลข
เงิน
แทนเลขตัวคูณ 0.01
แทนค่าความผิดพลาด 10%
ทอง
แทนตัวคูณ 0.1
แทนค่าความผิดพลาด 5%
ดำ
แทนเลข 0
แทนตัวคูณ 1
น้ำตาล
แทนเลข 1
แทนตัวคูณ 10
แดง
แทนเลข 2
แทนตัวคูณ 100
ส้ม
แทนเลข 3
แทนตัวคูณ 1000
เหลือง
แทนเลข 4
แทนตัวคูณ 10000
เขียว
แทนเลข 5
แทนตัวคูณ 100000
ฟ้า
แทนเลข 6
แทนตัวคูณ 1000000
ม่วง
แทนเลข 7
แทนตัวคูณ 10000000
เทา
แทนเลข 8
ขาว
แทนเลข 9
เฮ้ย!!! ยิ่งอ่านยิ่งงง ครับพี่น้อง
ผมเขียนเองเริ่มงงเองแล้ว
ถ้าอ่านจากข้างบนนี้คงงงตายชัก
ท่องเป็นวรรคแบบนี้ น่าจะโอเคกว่า
"ดำน้ำตาล แดงส้มเหลือง เขียวฟ้า ม่วงเทาขาว"
ในความหมายของสิ่งที่ท่องก็คือ แบ่งเป็นวรรคๆ แบบข้างบน จำง่ายดี
ท่องซัก 4-5 รอบ ก็จำได้แล้วว่า เลข 1-9 รหัสสีของตัวต้านทานอ่านยังไง
ทีนี้ก็เรื่องตัวคูณของค่าตัวต้านทาน อันนี้ก็จำง่ายๆ โดยอาศัยประโยชน์จากวรรคที่ท่องเมื่อกี้ ว่า
"ตัวคูณ คือ 10 ยกกำลัง n เมื่อ n รหัสสีในแถบตัวคูณ"
ตัวอย่าง เช่น
ตัวต้านทาน น้ำตาล ดำ แดง ทอง
รหัสที่อยู่ในแถบตัวคูณของตัวต้านทานก็คือ แดง ซึ่งก็คือเลข 2
ตัวคูณของตัวต้านทานนี้ก็ คือ 10 ยกกำลัง 2
นั้นก็คือ 100 นั้นเอง ง่ายไหมล่ะ
และที่เหลือแถบบอกค่าความผิดพลาดของตัวต้านทาน ก็มีแค่ 4 ตัวจำง่ายอยู่แล้ว
ดำ 1% น้ำตาล 2% ทอง 5% เงิน 10%
เมื่อถึงตรงนี้เราก็ คงรู้จักตัวต้านทานกันพอสมควรแล้วล่ะ คราวหน้าผมจะเอาเรื่องการคำนวน
เกี่ยวกับความต้านทาน และการใช้งานจริงด้วย มาฝาก
โอกาสหน้า จะมาเขียนใหม่ครับ ^-^
วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
1 ความคิดเห็น:
At this moment I am going away to do my breakfast,
once having my breakfast coming yet again to read more news.
My web site: raspberry ketone diet
แสดงความคิดเห็น